วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อาณาจักรทวารวดี




อาณาจักรทวารวดี

ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2427 โดยนายแซมมวล บีล (อังกฤษSamuel Beel) ได้แปลงมาจากคำว่า โถโลโปตี (อังกฤษTolopoti) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง (อังกฤษHiuantsang) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โถโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรอิศานปุระ และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ (อังกฤษTchouanlopoti) หรือ เชอโฮโปติ (อังกฤษChohopoti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย
ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน (อังกฤษEdourd Chavannes) และ นายตากากุสุ (อังกฤษTakakusu) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. 2439 และ นายโปล เปลลิโอต์ (อังกฤษ:Paul Pelliot) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็นชาวมอญในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ (อังกฤษLunet de Lajonguiere) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพลอินเดียแต่ไม่ใช่ขอม จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16
อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่ากัน




โบราณสถานสระมรกต

 โบราณสถานสระมรกต





วันนี้เราจะพาไปเที่ยวโบราณสถานสำคัญ ในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดเล็กๆ ใกล้กรุงเทพ สามารถไปเที่ยวแบบไปเช้ากลับเย็นได้สบายๆ ซึ่งโบราณสถานในเมืองปราจีนนั้นจัดว่ามีความสำคัญและน่าสนใจไม่แพ้ที่ไหนๆ เลย ทั้งอายุที่เก่าแก่นับพันปี ไปจนถึงอาณาบริเวณที่กว้างขวางจนจัดว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานที่สามารถใช้เป็นต้นแบบของการศึกษาปราสาทหินได้อีกด้วย เราเลยหาโอกาศมาเยี่ยมชมอารยธรรมโบราณด้วยตัวเองซักครั้ง จะได้รู้ว่าดินแดนแถบนี้ในอดีตมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง
พอเข้าสู่อำเภอศรีมโหสถ เราก็มุ่งหน้าสู่ “โบราณสถานสระมรกต” ภายในบริเวณ วัดสระมรกต กันเลย  ไฮไลท์แรกที่ไม่ควรพลาดเลยก็คือ รอยพระพุทธบาทคู่ ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุราวๆ พุทธศตวรรษที่ 14 รอยพระพุทธบาทคู่นี้เป็นรอยสลักในพื้นหินศิลาแลงธรรมชาติมีลักษณะเหมือนรอยเท้ามนุษย์ ที่กลางฝ่าพระบทแต่ละข้างสลักเป็นรูปธรรมจักร ระหว่างพระบาทแกะเซาะเป็นร่องรูปกากบาทหรือสวัสดิกะ เครื่องหมายแห่งความโชคดี มีหลุมอยู่ตรงกลางสันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับปักเสาฉัตร ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. 2529 ปัจจุบันมีการสร้างหลังคาครอบเอาไว้อย่างถาวร ซึ่งชาวบ้านในบริเวณนี้รวมถึงนักท่องเที่ยวให้ความเคารพศรัทธา และนิยมมากราบไหว้รอยพระพุทธบาทแห่งนี้เป็นจำนวนมาก บริเวณใกล้กันกับรอยพระพุทธบาทมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และร่องรอยของกลุ่มศิลาแลงกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่มๆ  ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นที่แห่งนี้เคยมีอาคารต่างๆ สร้างอยู่ และจากการสังเกตุและศึกษาตามรูปแบบผังของอาคารแล้ว พื้นที่บริเวณนี้จะมีลักษณะตรงกับอโรคยาศาลา ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นับๆ ดูแล้วกลุ่มโบราณสถานสระมรกตนี้ก็มีอายุมากกว่า 2,000 ปีเลยทีเดียว

ถัดออกไปทางทิศตะวันออกจะมีสระน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่า      สระมรกต” สันนิษฐานจากตำแหน่งที่ตั้งและขนาดแล้ว เชื่อกันว่า  สระมรกตนี้เป็นสระน้ำสำคัญมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ใกล้ๆ กับสระมรกต มี อาคารนิทรรศการ” ซึ่งภายในจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ ลักษณะภูมิศาสตร์ และความเป็นมาที่สำคัญของเมืองศรีมโหสถ เพราะนอกจากกลุ่มโบราณสถานในบริเวณสระมรกตนี้แล้ว ภายในเมืองศรีมโหสถนี้ยังมีการค้นพบร่องรอยของโบราณสถานอีกมากมายที่กระจายตัวอยู่ตามจุดต่างๆ รวมทั้งยังจัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดค้นได้อีกหลายชิ้น และยังมีแบบจำลองเมืองโบราณอยู่ด้านหน้าอาคารด้วย ทำให้เราพอจะเห็นภาพได้ว่าในบริเวณนี้เคยมีลักษณะผังอาคารเป็นเช่นไรบ้าง
เที่ยวชมโบราณสถานกันไปแล้ว เราก็ไม่ลืมที่จะเข้าไปสักการะพระประธานในพระอุโบสถของวัดสระมรกตกันด้วย ซึ่งภายในบริเวณวัดก็ยังมีจุดที่น่าสนใจอีกไม่น้อยเลย ทั้งพระอุโบสถหินอ่อนหลังใหญ่ ซึ่งสวยงามแปลกตาด้วยสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย รวมไปถึงพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ประดิษฐานให้ชาวพุทธอย่างเราๆ ได้เคารพกราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล อีกทั้งยังมีต้นศรีมหาโพธิ์เก่าแก่มากๆ ด้วย
ไหว้พระขอพรกันเรียบร้อย เดินเล่นชมบรรยากาศรอบๆ วัดกันอีกหน่อย ก็ได้เวลาออกเดินทางไปยังสถานที่ต่อไปกันแล้ว เพราะในจังหวัดปราจีนบุรียังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากรอเราอยู่ สุดสัปดาห์นี้ถ้ายังไม่รู้จะไปเที่ยวที่ไหน ลองแวะมาที่อำเภอศรีมโหสถกันดูนะครับ มาย้อนรอยศึกษาประวัติศาสตร์อารยธรรมสมัยทวาราวดีกันดู รับรองว่าน่าสนใจกว่าการเดินเล่นในห้างเป็นไหนๆ

จุดเด่น:
        บริเวณกลุ่มโบราณสถานสระมรกต มีไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ รอยพระพุทธบาทคู่ ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ซึ่งนับว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงร่องรอยอารยธรรมตั้งแต่สมัยทวาราวดี และร่องรอยของกลุ่มอาคารโบราณในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ทำให้เราทราบว่าพื้นที่แห่งนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากแห่งหนึ่งของไทย 

·         จุดด้อย:·         กลุ่มโบราณสถานเหล่านี้ เดิมทีควรจะมีสภาพที่สมบูรณ์กว่านี้ แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในอดีตจึงมีการนำชิ้นส่วนต่างๆ ของปราสาทไปใช้ต่อเติมวัดต่างๆ ในพื้นที่ อีกทั้งบริเวณนี้ยังขาดการป้ายบอกจุดสำคัญๆ หรือไม่มีผู้ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว ว่ากลุ่มโบราณสถานแต่ละจุดมีความสำคัญและมีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งบางจุดนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็เดินผ่านไปโดยที่ไม่ทราบความเป็นมาของสถานที่อย่างน่าเสียดาย       ข้อสรุป:        กลุ่มโบราณสถานสระมรกต เป็นแหล่งอารายธรรม และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย จากร่องรอยของกลุ่มหินที่บ่งบอกให้เห็นว่าเคยเป็นกลุ่มอาคารที่สำคัญ



ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ
       ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้น  บ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก 
หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี

       ประเพณีบุญบั้งไฟมีมาแต่ครั้งไหนยังหาหลักฐานที่แน่ชัด มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟในแง่ต่างๆ ไว้ดังนี้
 ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
        ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า แถนเมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์
ความหมายของบั้งไฟ
       คำว่า “บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า บ้องไฟแต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่าบั้งไฟดังที่ เจริญชัย ดงไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้นส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใดๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า บั้งไฟในทัศนะของผู้วิจัย บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตาม
อัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่างๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย

ประเพณีบุญบั้งไฟ
ในทางศาสนาพุทธกับประเพณีบุญบั้งไฟ
         มีการฉลองและบูชาในวันวิสาขบูชากลางเดือนหก มีการทำดอกไม้ไฟในแบบต่างๆ ทั้งไฟน้ำมัน ไฟธูปเทียนและดินประสิว มีการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา  
ประเพณีบุญบั้งไฟ

ส่วนประกอบของบั้งไฟ

      1. เลาบั้งไฟ เลาบั้งไฟคือส่วนประกิบที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ 1.5 - 7 เมตร ทำด้วยลำไม้ไผ่เล้วใช้ร้วไม้ไผ่ (ตอก) ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่น และใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า"หมือ" อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟ ด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟ ไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ ในสมัดต่อมานิยมนำวัสดุอื่นมาใช้เป็นเลาบั้งไฟแทนไม้ไผ่ ได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เป็นต้น เรียกว่าเลาเหล็กซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่า
       2. หางบั้งไฟ หางบั้งไฟถือเป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่คล้ายหางเสือ ของเรือคือสร้างความสมดุลย์ให้กับบั้งไฟคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง บั้งไฟแบบเดิมนั้น ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ต่อมาพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกันหางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลม ทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 8-12 เมตร ทำหน้าท่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 30-40 องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ 7-8 เมตร ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ

       3. ลูกบั้งไฟ เป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ บั้งไฟลำหนึ่งจะประกอบด้วยลูกบั้งไฟประมาณ 8-15 ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่ ลูกโอ้ ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม นอกจากนี้ลูกบั้งไฟยังเป็นพื้นผิวรองรับการเอ้หรือการตกแต่งลวดลายปะติดกระดาษประเพณีบุญบั้งไฟ

        ลายบั้งไฟ : ใช้ลายศิลปไทย คือ ลายกนก อันเป็นลายพื้นฐานในการลับลายบั้งไฟ โดยช่างจะนิยมใช้กระดาษดังโกทองด้านเป็นพื้นและสีเม็ดมะขามเป็นตัวสับลาย เพื่อให้ลายเด่นชัดในการตกแต่งเพื่อให้ความสวยงาม
       ตัวบั้งไฟ : มีลูกโอ้จะใช้ลายประจำยาม ลายหน้าเทพพนม ลายหน้ากาล ลูกเอ้ใช้ลายประจำยาม ก้ามปูเปลว และลายหน้ากระดาน ฯลฯ 
       กรวยเชิง : เป็นลวดลายไทยที่เขียนอยู่เชิงยาบที่ประดับพริ้วลงมาจากช่วงตัวบั้งไฟ 
       ยาบ : เป็นผ้าประดับใต้เลาบั้งไฟ จะสับลายใดขึ้นอยู่กับช่างบั้งไฟนั้น เช่น ลายก้านขูดลายก้าน
ดอกใบเทศ
 
       ตัวพระนาง : เป็นรูปลักษณ์สื่อถึงผาแดงนางไอ่ หรือตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษณ์ พระราม เป็นต้น 
      กระรอกเผือก : ท้าวพังคี แปลงร่างมาเพื่อให้นางไอ่หลงใหล 
      ปล้องคาด : ลายรักร้อย ลายลูกพัดใบเทศ ลายลูกพัดขอสร้อย เป็นต้น 
      เกริน : เป็นส่วนที่ยื่นออกสองข้างของบุษบก เป็นรูปรอนเบ็ดลายกนก สำหรับตั้งฉัตรท้ายเกริน ราชรถประดับส่วนท้ายของหางบั้งไฟ 
      บุษบก : เป็นองค์ประกอบไว้บนราชรถ เพื่อสมมุติให้เป็นปราสาทผาแดงนางไอ่ 
      ต้างบั้งไฟ : ลายกระจังปฏิญาณ ลายก้านขด ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ 
      ลายประกอบตกแต่งอื่นๆ : ลายกระจังตั้ง กระจังรวน กระจังตาอ้อย ลายน่องสิงห์ บัวร่วน กลีบขนุน